Author Archives: wachirapornloysmith2013

การแตกแรง

วิธีการแตกแรง เป็นวิธีการนำปริมาณไฟฟ้าในรูปเวกเตอร์แต่ละสัญญาณมาแตกเวกเตอร์ออกให้อยู่ในแนวแกน x และแกน y ด้วยการหาขนาดและทิศทางของเวกเตอร์ผลลัพธ์ โดยใช้ตรีโกณมิติ นำเวกเตอร์ผลลัพธ์ในแนวแกน x และแกน y แต่ละสัญญาณมารวมกัน จะได้เวกเตอร์ผลลัพธ์สุดท้าย หาขนาดและทิศทางออกมา ลักษณะการใช้วิธีแตกเวกเตอร์ แสดงดังรูปที่ 3.1                              (ก) เวกเตอร์แรงดัน E               … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

การหาแรงลัพธ์

การหาแรงลัพธ์     แรงลัพธ์  หมายถึง ผลรวมของแรงที่กระทำต่อวัตถุทั้งขนาดและทิศทาง    1. การหาแรงลัพธ์เมื่อแรงย่อยอยู่ในแนวเดียวกัน        1.1 เมื่อแรงย่อยมีทิศเดียวกันให้นำแรงย่อยมารวมกัน ทิศทางของแรงลัพธ์จะเป็นทิศเดิม        1.2 เมื่อแรงย่อยมีทิศทางตรงกันข้ามกัน ให้นำแรงย่อยมาลบกัน โดยแรงลัพธ์จะมีิทิศทางตามแรงที่มากกว่า      2. การหาแรงลัพธ์เมื่อแรงย่อยอยู่ในแนวเดียวกัน         2.1 เมื่อแรงลัพธ์กระทำต่อวัตถุ ในทิศเดียวกัน แรงลัพธ์ก็คือ ผลบวกของแรงทั้งสอง เช่น         … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

สภาพไร้น้ำหนัก

สภาพไร้น้ำหนัก สภาพไร้น้ำหนัก             ตามความหมายของน้ำหนัก ซึ่งหมายถึง แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ หรือ ถ้าเป็นน้ำหนักบนดาวดวงอื่น ก็คือ แรงโน้มถ่วงที่ดาวดวงนั้นกระทำต่อวัตถุ ในที่นี้เราจะพิจารณาน้ำหนักที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกเท่านั้น เพราะเหตุว่า น้ำหนักของวัตถุมีความสัมพันธ์กับค่าความเร่ง g และ g ก็มีความสัมพันธ์กับ R (ระยะทางจากศูนย์กลางของโลก)             ถ้า R มีค่ามาก จะทำให้ค่า g เข้าสู่ศูนย์ หมายความว่า วัตถุที่อยู่ห่างโลกมากๆ แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุน้อยมาก จนเกือบมีค่าเป็นศูนย์ได้ แต่เราทราบว่าที่ระยะถึงดวงจันทร์ … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย รูป 1 การเคลื่อนที่ของวัตถุติดสปริงบนพื้นราบ            ในรูป 1 วางมวลไว้บนพื้นราบ ผูกวัตถุเข้ากับปลายหนึ่งของสปริงโดยที่อีกปลายหนึ่งของสปริงผูกติดกับผนัง วัตถุจะอยู่นิ่งๆ บนพื้นในตำแหน่งสมดุล เมื่อดึงวัตถุออกจากตำแหน่งสมดุลแล้วปล่อยให้วัตถุเคลื่อนที่บนพื้นราบ วัตถุจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมาผ่านตำแหน่งสมดุลและซ้ำเส้นทางเดิมการเคลื่อนที่ในลักษณะนี้มีจำนวนมาก เช่น  การสั่นของสายไวโอลินเมื่อถูกสี การสั่นของกลองเมื่อถูกตี  การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ติดปลายลวดสปริง การเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศเมื่อเคลื่อนเสียงส่งผ่าน  การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสายอากาศของเครื่องส่งวิทยุ เป็นต้น ปริมาณที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเคลื่อนที่ในลักษณะนี้ คือ ความถี่ ซึ่งหมายถึงจำนวนรอบของการเคลื่อนที่ใน 1 วินาที แทนสัญลักษณ์ f มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz) ซึ่ง 1 Hz =   ความถี่จะเป็นส่วนกลับกับคาบ ดังสมการ … Continue reading

Posted on by wachirapornloysmith2013 | Leave a comment

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (Motion of a Projectile)

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (Motion of a Projectile) คือ  การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นแนวโค้ง  ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อย่างเสรีด้วยแรงโน้มถ่วงคงที่  เช่น วัตถุเคลื่อนที่ไปในอากาศภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทางเดินของวัตถุจะเป็นรูปพาราโบลา  การเคลื่อนที่ของโพรเจกไทล์มีลักษณะ  ดังนี้           1.  การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์มีแนวการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลา  เนื่องจากค่าการกระจัดในแนวดิ่งแปรผันตามกับค่ากำลังสองของการกระจัดในแนวระดับ หรือ  Sy = kSx2 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของกราฟพาราโบลา           2.  การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์นั้น  เสมือนกับว่าประกอบไปด้วยการเคลื่อนที่ทั้งในแนวดิ่ง (แกน y)  และในแนวระดับ (แกน x) ไปพร้อมๆกัน                   1)  แรงลัพธ์ในแนวระดับ … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

จุดศูนย์ถ่วง และ จุดศูนย์กลางมวล

จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)            หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง และ มีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และ แนวของจุดศูนย์ถ่วง จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน  ตุ๊กตาล้มลุกมีตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงต่ำ การโยกตุ๊กตาจึงไม่ล้มและจะกลับมาตั้งตามเดิม             วัตถุในรูป A วางอยู่ในลักษณะสมดุลย์ เพราะแนวของ CG ที่ตั้งดิ่งลงสู่พื้นโลก อยู่ในกรอบฐาน ถ้าโยกวัตถุรูป A ให้อยู่ในตำแหน่ง B มีแนวของจุดศูนย์ถ่วง … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

สนามโน้มถ่วง

สนามโน้มถ่วง เมื่อปล่อยวัตถุ วัตถุจะตกสู่พื้นโลกเนื่องจากโลกมีสนามโน้มถ่วง (gravitational field)อยู่รอบโลก    สนามโน้มถ่วงทำให้เกิดแรงดึงดูดกระทำต่อมวลของวัตถุทั้งหลาย   แรงดึงดูดนี้เรียกว่า แรงโน้มถ่วง (gravitational  force) สนามโน้มถ่วงเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  g  และ สนามมีทิศพุ่งสู่ศูนย์กลางของโลก สนามโน้มถ่วง  ณ  ตำแหน่งต่างๆบนผิวโลกมีค่าประมาณ  9.8 นิวตันต่อกิโลกรัม สนามโน้มถ่วงของโลกที่บางตำแหน่งจากผิวโลก ระยะวัดจากผิวโลก (km) สนามโน้มถ่วง (N/kg) หมายเหตุ ที่ผิวโลก 9.80 – 10 9.77 เพดานบินของเครื่องบินโดยสาร 400 8.65 ความสูงของสถานีอวกาศนานาชาติ   ยานขนส่งอวกาศ 35700 0.225 ระดับความสูงของดาวเทียมสื่อสารคมนาคม 384000 0.0026 ระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงจันทร์ ดาวฤกษ์ โลก ดวงจันทร์  ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆและบริวารของดาวเคราะห์  ให้ระบบสุริยะรวมทั้งสรรพวัตถุทั้งหลายก็มีสนามโน้มถ่วงรอบตัวเอง  โดยสนามโน้มถ่วงเหล่านี้มีค่าต่างกันไป การเคลื่อนที่ของวัตถุในสนามโน้มถ่วง … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน (Newton’s gravitational law during mass)

กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน (Newton’s gravitational law during mass)            นิวตันเสนอกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลไว้ว่า “วัตถุ ทั่งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูด ซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆจะแปรผันตรงกับผลคูณระหว่างมาลวัตถุที่สองและจะแปรผกผันกับกำลังสองชองระยะ ทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั่น” ตามกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลที่นิวตันเสนอ พิจารณาจากรูป  เราจะสามารถเขียนได้ว่า เมื่อ m1 และ m2 เป็นมวลของวัตถุแต่ละก้อน มีหน่วยเป็น กิโลกรัม R เป็นระยะระหว่างมวล m1 กับm2 มีหน่วยเป็น เมตร G เป็นค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล เท่ากับ 6.673 x10-11 นิวตัน … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

มวลและน้ำหนัก

มวลและน้ำหนัก            มวล เป็น คุณสมบัติของสะสาร ซึ่งสามารถใช้เปรียบเทียบการต่อต้านการเคลื่อนที่ เมื่อมีแรง มากระทำ ซึ่งมวลนี้เป็นปริมาณสัมบูรณ์ คือ ไม่ว่าจะทำการวัดที่ใดก็ตาม จะต้องมีค่าเท่ากัน เมื่อมีมวลมาวางอยู่ในผิวโลก กฎของแรงโน้มถ่วงกำหนดให้มีแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อมวลนั้น ขนาดของแรงที่โลกกระทำต่อมวลนั้นเราเรียก น้ำหนัก และ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างมวล ดังนั้น น้ำหนักจึงเป็นปริมาณสัมพัทธ์ สถานที่ใช้วัดน้ำหนักมีผลต่อค่าน้ำหนักที่วัดได้ ความสัมพันธ์ระหว่างมวล และ น้ำหนัก คือ เมื่อค่า     คือ ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก แม้ว่าน้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่ แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่มากนัก ดังนั้นหลายๆครั้งเราจึงประมาณว่าค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงนั้นคงที่ และหากเราต้องการความถูกต้องถึงทศนิยมตำแหน่งที่สอง เราจะให้   และในระบบหน่วย … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment

โมเมนต์ของแรง (Moment of Force)

โมเมนต์ของแรง             โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือ โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตร   ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ             1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา             2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา รูปแสดงทิศทางของโมเมนต์ จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร) โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร) ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่า ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา คาน … Continue reading

Posted in Uncategorized | Leave a comment